28 พฤศจิกายน 2553

19 ตุลาคม 2553

งานบุญ ออกพรรษา เทโวโรหนะ วัดศิลาวรรณ บ้านหนองหิน ต.ดอนแรด | end of Buddhist lent at surin

ออกพรรษา เทโวโรหนะ
วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธา
ร่วมงานบุญ ออกพรรษา เทโวโรหนะ
พิธีเวียนประทักษิณ ปล่อยโคมลอยฟ้า 1,000 โคม และจุดพลุดอกไม้ไฟสวยงาม 120 ชุด

ณ วัดศิลาวรรณ บ้านหนองหิน ต.ดอนแรด
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 เวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป

วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก
งานบุญ ออกพรรษาเทโวโรหนะ

ชม ภาพยนตร์ บั้งไฟพญานาค พระพุทธเจ้าเปิดโลก
พระภิกษุสงฆ์ 70 รูปนำเวียนเทียน
ร่วมปล่อยโคมลอยฟ้า 1,000 โคม และชมพลุดอกไม้ไฟสีสวยงามที่ยิ่งใหญ่อลังการ

ให้กระแสบุญแผ่นทั่วผืนแผ่นดินรัตนบุรี
เป็นศิริมงคลในชีวิต
นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่องทั้งโลกนี้และโลกหน้า

พลาดไม่ได้
งานบุญ ออกพรรษา เทโวโรหนะ
วัดศิลาวรรณ บ้านหนองหิน ต.ดอนแรด
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2553 เวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป

05 กันยายน 2553

บทวิเคราะห์ เรื่อง การจัดตั้งวิทยุชุมชน | community radio instruction article

บทวิเคราะห์
เรื่อง  การจัดตั้งวิทยุชุมชน

โดย... นางสาววิธญาพร เอกหิรัณยราษฎร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงาน
สำกัด สำนักวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์

บทบาทและความสำคัญของสื่อประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ
            วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อที่สามารถให้ข่าวสารต่างๆ ในรูปของเสียง จึงมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะสามารถเข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารหรือขาดการคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือก็อาจรับฟังข่าวสารต่างๆ
จากวิทยุกระจายเสียงได้
 อีกทั้งสามารถกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง มีความรวดเร็วในการส่งข่าวสาร ผู้ฟังได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เป็นสื่อที่มีผลทางจิตวิทยาสูง เพราะน้ำเสียง ลีลาในการพูดหรือเสียงประกอบ สามารถทำให้เกิดจิตนาการได้เป็นอย่างดี  ราคาค่าใช้จ่ายต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มาก และสามารถเลือกกลุ่มผู้ฟังได้ 
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งวิทยุชุมชนเพื่อการศึกษาในวิทยาเขตพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยทักษิณ และเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ชุมชน ตลอดถึงการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน บุคลากรและนิสิตได้มีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น
ยึดแนวทางการเสนอข่าวสารของมหาวิทยาลัยและชุมชนเป็นหลัก ภายใต้ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดรายการ การเข้าไปบริหารจัดการหรือเข้าไปปฏิบัติงานได้ เป็นสื่อมวลชนตามแนวความคิดประชาธิปไตย (
Democratic Media) คือ เพื่อประชาชน โดยประชาชน และของประชาชน
วิทยุชุมชน (Community Radio) คือสถานีวิทยุที่ให้บริการเฉพาะเจาะจงในพื้นที่เขตบริการ ส่งกระจายเสียงในแนวแคบ มีเนื้อหารายการที่สอดคล้องกับรสนิยมและปัญหาของชุมชนนั้นๆ เป็นการสะท้อนความต้องการของชุมชนและเปิดโอกาสให้ตัวแทนชุมชนมีส่วนร่วมในรายการของสถานี
กรอบด้านเทคนิค
1. กำหนดเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงกำลังส่งไม่เกิน
30 วัตต์
2. เสาอากาศสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 เมตร
3. รัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร
เนื้อหาและรูปแบบรายการ ลักษณะสำคัญของเนื้อหา รูปแบบรายการของวิทยุชุมชนจะเป็นมาตรวัดว่าวิทยุชุมชนนั้นได้ทำหน้าที่ของวิทยุชุมชนอย่างแท้จริงหรือไม่ คือ เป็นเนื้อหา และรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน มีเนื้อหาและรูปแบบที่หลากหลาย ครอบคลุมความสนใจ ความต้องการและผลประโยชน์ของคนทุกกลุ่ม และเพื่อให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงของชุมชนที่มีหลากหลายมิติ เช่น เรื่องการศึกษา  การทำมาหากิน  การอยู่ร่วมกัน การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม มรดกด้านภูมิปัญญาของชุมชน ส่งเสริมศีลธรรมศาสนา การพักผ่อนความบันเทิงและการละเล่น ประเพณีพิธีกรรม ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน เนื่องจากการสื่อสารเป็นสิทธิอย่างหนึ่งของชุมชน ดังนั้นเนื้อหาวิธีการนำเสนอ และรูปแบบรายการจึงควรให้สิทธิแก่ชุมชนในการดำเนินการให้สอดคล้องกับประเพณีและวัฒนธรรมหรือรสนิยมของชุมชน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือการใช้ภาษาท้องถิ่น
นอกจากนั้นลักษณะของเนื้อหาและรูปแบบของรายการจะต้องส่งเสริมการสื่อสาร
ในแนวนอน คือ การสื่อสารระหว่างประชาชนกับประชาชน
การประเมินผล
การประเมินผลการทำวิทยุชุมชนจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายและแง่มุมที่จะประเมินนั้น ต้องมีหลากหลายมากกว่าการประเมินปริมาณผู้ฟังเท่านั้น โดยที่การประเมินนั้นจะเป็นทั้งการ เหลียวไปข้างหลังเพื่อดูว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้นั้นบรรลุหรือไม่และเป็นทั้งการ แลไปข้างหน้าเพื่อแสวงหาแนวทางพัฒนาวิทยุชุมชนต่อไป
ปัญหา
1.       การจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน ขณะที่ยังไม่มี กสช. และ กทช. เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย
2.       งบประมาณในการลงทุนสูง
3.       การบริหารจัดการของวิทยุชุมชนมหาวิทยาลัยไม่ชัดเจน
4.       ไม่เป็นการแสวงหารายได้จากวิทยุชุมชน
ข้อเสนอแนะ
1.       มหาวิทยาลัยสามารถทดลองออกอากาศวิทยุชุมชนไปเบื้องต้นก่อน จนกว่าการคัดเลือกและแต่งตั้ง กสช. และ กทช. จะแล้วเสร็จ
2.                ทำโครงการเสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัยทักษิณเพื่อขออนุมัติงบประมาณจัดตั้งวิทยุชุมชน
3.       จัดตั้งคณะกรรมการวิทยุชุมชนของมหาวิทยาลัย
4.       มหาวิทยาลัยสามารถระดมทุนสนับสนุนวิทยุชุมชนได้โดยการรับบริจาค




02 กันยายน 2553

ข้อดีของการท่องเที่ยว | Many Profits of traveling

6. ลู่ทางธุรกิจ

เปิดตาให้กว้างเวลาไปเที่ยวต่างบ้านต่างเมือง มันอาจมีลู่ทางธุรกิจอันสนใสรอคุณอยู่ อาจเป็นการเปิดร้านอาหาร ส่งออกหรือนำเข้าสินค้า หรือเจอบางคนที่ให้คำแนะนำเรื่องธุรกิจที่คุณอยากรู้ก็ได้ เรื่องไม่คาดคิดต่าง ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอใครจะไปรู้ล่ะ

7. เจอคู่ที่ถูกใจ

การเดินทางท่องเที่ยวให้โอกาสมากมายที่จะได้เจอคนที่ถูกใจในบรรยากาศสบาย ๆ อย่างไรก็ตามอย่าจริงจังกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้คุณผิดหวังเมื่อกลับสู่สภาพการดำรงชีวิตปกติของคุณ

5. เรียนรู้ภาษาใหม่

ถึงแม้เรื่องเรียนกับเรื่องเที่ยวไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้ แต่คุณก็น่าจะศึกษาภาษาพื้นเมืองไว้ไม่มากก็น้อย สมัยนี้การได้ภาษามากกว่า 2 ภาษากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นการเพิ่มคุณค่าของตัวคุณเอง ลองนึกสภาพอนาคตที่ต้องติดต่องานกับลูกค้าต่างประเทศ ทั้งจาก สเปน จีน ญี่ปุ่น นี่เป็นโอกาสดีที่จะได้ฝีกฝนตนเองก่อนเริ่มใช้จริง

4. ลิ้มรสความแปลกใหม่

อาหารสามารถทำลายหรือเพิ่มรสชาติให้กับการท่องเที่ยวของคุณ โดยเฉพาะถ้ามันอร่อยล่ะก้อ การเที่ยวครั้งนี้คงเหมือนสวรรค์นะเอง และคุณไม่ควรจากสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใด ๆ

โดยไม่ได้ลองรสเมนูเด็ดของที่นั่น ไม่งั้นคงมาเสียเที่ยวแน่ ถึงแม้อาหารบางอย่างคุณคงไม่มีวันได้กินมันจริง ๆ เช่น เลือดงู แต่แค่ได้เห็นมันก็เป็นบุญตาแล้วไม่ใช่หรือ


3. สนุกกับชีวิต

ต่อให้คุณเป็นคนเฉย ๆ กับสิ่งรอบข้างแต่การได้หลบหนีจากชีวิตที่จำเจก็เป็นอะไรที่น่าสนใจไม่ใช่หรือ การได้ร่วมกิจกรรมในที่ต่าง ๆ น่าจะนำความตื่นเต้นให้กับชีวิตคุณได้บ้าง ประสบการณ์หลากหลาย


2. ก้าวผ่านวัฒนธรรม

คุณไม่ได้รับแค่การผจญภัยจากการท่องเที่ยวเท่านั้นแต่มันยังเป็นการเปิดประตูแห่งวัฒนธรรมให้กับคุณด้วย ซึ่งวัฒนธรรมที่กล่าวถึงไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นกันบ่อย ๆ

31 สิงหาคม 2553

ตัวอย่างภาพยนตร์ Step Up 3D [Sub-Thai] ตัวอย่างหนัง

สถานการณ์วิทยุชุมชนในปัจจุบัน Community Radio in thailand today

สถานการณ์วิทยุชุมชนในปัจจุบัน
รศ. ดร. พนา  ทองมีอาคม


ปัจจุบัน  วิทยุชุมชน เป็นปัญหาหรือหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจของสังคมหัวข้อหนึ่ง  ทุกคนที่เปิดวิทยุฟังในวันนี้  ต่างเลี่ยงไม่พ้นคลื่นวิทยุชุมชน  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น กทม. หรือเชียงใหม่  สิ่งที่ทำให้เรารู้ได้ว่ามีวิทยุชุมชนอยู่ ก็คือการปรากฏของคลื่นแทรกและบ่อยครั้งการจัดรายการที่ดูแปลกและไม่ธรรมดา
หลายคนที่เคยฟังวิทยุชุมชนยอมรับว่าวิทยุชุมชนเป็นคลื่นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความหลากหลาย  และสามารถรับรู้เรื่องราวท้องถิ่นที่ใกล้ตัว  แต่ขณะเดียวกัน  ผู้ฟังจำนวนไม่น้อย  ก็ไม่พอใจกับการที่คลื่นหลักที่ต้องการฟังถูกแทรกจากรายการของวิทยุชุมชน หรือจากการได้ยินการออกอากาศด้วยรายการที่ระคายความรู้สึกของตน
เพื่อให้ได้ภาพของวิทยุชุมชน  จำเป็นที่เราจะต้องดูที่มาและที่ไปของสื่อวิทยุชนิดนี้ในสังคมของเรา
รัฐธรรมนูญและกติกาการจัดสรรคลื่นอย่างใหม่
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540  สังคมไทยมีความตื่นตัวในความเป็นประชาธิปไตยสูง  จากภาพอดีตของการปฏิวัติและการต่อสู้เมื่อ 17 พ.ค. ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปไม่นาน  คนจำนวนมากจึงชื่นชมกับรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูงที่สุดฉบับหนึ่งเท่าที่เคยมีมา
ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  มีบทบัญญัติในมาตรา 40 ที่ว่าด้วยคลื่นความถี่วิทยุและการกำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมที่มีความว่า
มาตรา ๔๐  คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง
และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคม  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน
ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
ผลจากมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญนี้ เท่ากับการบอกให้ประเทศไทยจัดการปฏิรูประบบการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ และให้มีองค์กรกำกับการใช้คลื่นใหม่ทั้งหมด
ผลในส่วนของประชาชน  ก็เป็นที่แน่นอนว่าประชาชนเกิดความตื่นตัว ความหวังที่จะได้รับการจัดสรรหรือ ได้โอกาสในการจัดทำวิทยุของตนเอง

การเกิดของวิทยุชุมชน
ในช่วงสองสามปีหลังจากการพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่  กระแสความตื่นตัวในเรื่องของวิทยุชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือที่เรียกกันว่า NGO (non-governmental organizations) ได้เริ่มก่อตัวขึ้น  มีการจัดสัมมนาทางวิชาการร่วมกันระหว่างคณาจารย์สายนิเทศศาสตร์และ องค์กรพัฒนาเอกชน  แม้แต่องค์กรต่างประเทศและองค์กรรัฐเช่นกรมประชาสัมพันธ์ ก็ได้ร่วมมือด้วยในบางโอกาสเช่นกัน
วิทยุชุมชนเกิดขึ้นในช่วงปี 2542-2544 จากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรต่างๆ ด้วยมุ่งมาดให้ชุมชนแต่ละแห่งมีพื้นที่ในการทำสื่อของตัวเอง ……….. วิทยุชุมชนเริ่มเปิดตัวออกมาหลังกระบวนการเรียนรู้ที่ดำเนินการโดยองค์กรภาคประชาชนทั้งสิ้น[1]
การตราพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.. 2543  ได้สร้างความหวังให้แก่ประชาชน ว่าจะมีองค์กรอิสระคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) เข้ามากำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ในเร็ววัน  โดยเฉพาะในมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้สร้างความตื่นตัวในหมู่ผู้สนใจวิทยุชุมชน โดยกำหนดรายละเอียดของการจัดสรรคลื่นว่า กสช. จะต้องจัดคลื่นวิทยุให้ประชาชนเป็นจำนวนร้อยละ 20 ดังที่บัญญัติไว้ว่า
 “…การจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาต
ให้ประกอบกิจการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาค
เอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
ยี่สิบ ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมให้ กสช. ให้การสนับสนุน เพื่อให้ภาคประชาชนมีโอกาสใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด
จนล่วงเข้าในปี  2544 ปลายปี  เริ่มเกิดวิทยุชุมชนขึ้นในประเทศไทย  และตัวอย่างวิทยุชุมชนต้นแบบนี้  เป็นที่สนใจในวงกว้างและต่อมาได้ขยายตัวออกไปโดยการเรียนรู้กันเองของชุมชน
การเกิดขึ้นและขยายตัวของวิทยุชุมชนนี้  แน่นอนว่ามีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายตามมา   ในขณะที่ผู้ริเริ่มจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องของสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 39 และอ้างมาตรา 40 ในเรื่องของคลื่นความถี่  แต่ในทางปฏิบัติ การจะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญต้องมีกฎหมายรองรับ และกฎหมายที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ยังมีผลบังคับอยู่จนกว่าจะมีการแก้ไขหรือออกกฎหมายใหม่คือ พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.. ๒๔๙๘ 
ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุใน มาตรา 5 ที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.. ๒๕๓๐ ความว่า
มาตรา ๕  ห้ามมิให้ผู้ใดส่งวิทยุกระจายเสียงหรือส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือแก่ชุมชน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินบริการส่งวิทยุกระจายเสียงหรือบริการส่งวิทยุโทรทัศน์จากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
การส่งวิทยุกระจายเสียงหรือการส่งวิทยุโทรทัศน์ ที่กระทำโดยการทำให้คลื่นแฮรตเซียนแพร่กระจายไปในบรรยากาศ ถ้าได้ทำการส่งโดยมีรายการแน่นอนสม่ำเสมอหรือเป็นประจำ และบุคคลอื่นสามารถรับการส่งวิทยุนั้นได้โดยใช้เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงหรือเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ที่ผู้ส่งจัดหาให้หรือที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป ให้ถือว่าการส่งวิทยุนั้นเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงหรือการส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือแก่ชุมชนตามความในวรรคหนึ่ง
การส่งวิทยุกระจายเสียงหรือการส่งวิทยุโทรทัศน์ ที่กระทำโดยการทำให้คลื่นแฮรตเซียนผ่านไปทางสายหรือสื่อตัวนำไฟฟ้า ถ้าได้ทำการส่งโดยมีรายการแน่นอนสม่ำเสมอหรือเป็นประจำ และบุคคลอื่นสามารถรับการส่งวิทยุนั้นได้โดยใช้เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงหรือเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ที่ผู้ส่งจัดหาให้หรือที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป ไม่ว่าเครื่องรับนั้นจะมีความจำเป็นต้องดัดแปลงหรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม และถ้าการส่งวิทยุนั้นได้กระทำตามลักษณะหรือขอบเขตตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ถือว่าการส่งวิทยุนั้นเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงหรือการส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือแก่ชุมชนตามความในวรรคหนึ่ง
กฎกระทรวงที่ออกตามความในวรรคสาม ให้ใช้บังคับในวันที่ระบุในกฎกระทรวง แต่จะใช้บังคับก่อนเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ กฎกระทรวงที่ออกมาเปลี่ยนแปลงลักษณะและขอบเขตของการส่งวิทยุตามที่ได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้แล้ว ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้รับใบอนุญาตอยู่แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ และให้ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวดำเนินการต่อไปได้จนกว่าอายุใบอนุญาตนั้นจะสิ้นสุดลง
จากความในกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  การจัดตั้งวิทยุชุมชนของประชาชนจึงถือว่าเป็นการผิดกฎหมายแน่นอน  และเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ดำเนินการในกรณีที่มีการฝ่าฝืน  ก็ได้แก่กรมประชาสัมพันธ์
การผ่อนผัน: จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน
การเข้าบังคับใช้กฎหมายของกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อ 12 ก.พ. 2545 โดยคำสั่งของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ให้วิทยุชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสิงห์บุรี ยุติการออกอากาศ  โดยเหตุที่ว่าเป็นการดำเนินงานที่ไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ    ได้ก่อให้เกิดเสียงทักท้วงจากแวดวงผู้เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน และผู้จัดตั้งวิทยุชุมชนทั่วไป
ที่สุดแล้วคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนต่างๆ หาแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว  และที่สุดเรื่องก็ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยในการประชุมวันที่ 16 ก.ค. 2545 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดหลักเกณฑ์ชั่วคราว เพื่อดูแลการใช้คลื่นวิทยุชุมชน
หลังจากนั้น การดำเนินการวิทยุชุมชน ได้ดำเนินต่อไปในลักษณะของการผ่อนผัน  แต่ก็ไม่มีความแน่นอนของวิธีการ  มีการปรับเปลี่ยนแนวคิด ทั้งในเรื่องของการใช้คลื่นของกรมประชาสัมพันธ์ และการให้องค์กรท้องถิ่นของรัฐคือ อบต. เข้ามาจัดตั้ง
ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุ ชุมชนที่คณะทำงานฯ ได้ตรวจพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.   เจตนารมณ์ของการเรียนรู้วิทยุชุมชน
2.   ความหมายคำว่า ชุมชนและ จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน
3.   ลักษณะสำคัญของวิทยุชุมชน
4.   หลักการ ขั้นตอน กระบวนการเตรียมความพร้อมชุมชน ได้แก่ การเตรียมการเรียนรู้เรื่อง การบริหารจัดการ การผลิตรายการ การทดลองออกอากาศ การพัฒนาความรู้ และการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
5.   สำหรับโครงสร้างหลักในการบริหารจัดการจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการเพื่อกำหนดนโยบายและดูแลด้านการดำเนินงาน และคณะกรรมการปฏิบัติการในด้านบริหารจัดการและด้านรายการ
6.   ขั้นตอนการแจ้งเพื่อขอดำเนินการจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการเรียนรู้วิทยุชุมชนที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ทำหน้าที่รับรอง ส่งเสริมพัฒนาจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
7.   สำหรับขั้นตอนการแจ้งเพื่อขอดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
7.1 กรณีจุดปฏิบัติการเรียนรู้ที่ดำเนินการทดลองออกอากาศแล้วให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ยื่นเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ประกอบการขอรับรองและให้มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องส่งภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ
7.2 ในส่วนของกลุ่มผู้ดำเนินการที่จะขอตั้งจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนใหม่ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และมีโครงการในการบริหารจัดการจุดปฏิบัติการวิทยุชุมชนสมบูรณ์ โดยก่อนทดลองออกอากาศให้ทำการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อให้การรับรองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร
7.3 ให้คณะกรรมการดำเนินการฯ พิจารณาคำขอรับรองภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร และอาจขยายเวลาต่อไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน และในกรณีที่มีการร้องเรียนว่า การทดลองออกอากาศก่อให้เกิดการรบกวน วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศฯ และกิจการโทรคมนาคมใด หากเป็นจริงตามข้อร้องเรียน ให้คณะกรรมการดำเนินการฯ แจ้งให้หยุดออกอากาศชั่วคราว จนกว่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ
8.   ลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิคและทางด้านรายการนั้น เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงมีกำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ ในระบบ F.M. เสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตร รัศมีไม่เกิน 15 กิโลเมตร
9.   หลักเกณฑ์นี้ เป็นหลักเกณฑ์ชั่วคราวต้องยุติการดำเนินการเมื่อมี กสช. และ กทช. แล้ว และยินยอมให้กสช. และ กทช. เป็นผู้กำหนดต่อไป
จะเห็นว่าการมีมติของคณะรัฐมนตรีครั้งนี้  เป็นการตัดสินใจที่น่าจะอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทางการเมือง  เนื่องจากวิทยุชุมชนได้เริ่มเกิดขึ้นมาแล้ว  และไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือสื่อมวลชน  ต่างก็มีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้มีวิทยุชุมชน 
กระแสสนับสนุนวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้น  ส่งผลให้การจัดการเด็ดขาดตามกฎหมาย จะต้องอาศัยความห้าวหาญในการบริหารอย่างมาก  และอาจมีผลกระทบทางการเมือง  ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก  การตัดสินใจที่มิได้อยู่บนพื้นฐานกฎหมายนี้ จะเห็นได้จาก ข้อสังเกตของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีข้อสังเกตเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเรื่องของวิทยุชุมชน ดังนี้
1.  การจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน ขณะที่ยังไม่มี กสช. และ กทช. เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมาย เนื่องจาก
1.1 ในส่วนของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในการดำเนินการของวิทยุชุมชนจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ด้วย
1.2  มาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวที่เป็นการผ่อนปรนจะดำเนินการได้ควรมีกฎหมายรองรับ เนื่องจากมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ได้มีข้อบัญญัติโดยสรุปว่า ในระหว่างการคัดเลือกและแต่งตั้ง กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณียังไม่แล้วเสร็จ จะพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติมไม่ได้ ดังนั้น จึงเห็นควรเพิ่มเติมข้อความในท้ายบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้เป็นข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยุชุมชน ให้สามารถดำเนินการได้โดยมีเงื่อนไขตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย และอาจมีผลกระทบกับข้อสัญญาการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุ โทรทัศน์ทั้งที่กำลังดำเนินบริการและจะขออนุญาตดำเนินบริการต่อไปในอนาคตได้ จึงเห็นสมควรมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือสำนักงานอัยการสูงสุดรับไปพิจารณาดำเนินการแล้วแต่กรณีต่อไป
2.  ขณะที่มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ไม่เปิดช่องให้ทางราชการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการ หรืออนุญาตให้ประกอบกิจการเพิ่มเติมได้ สมควรให้ภาคประชาชนสามารถเข้าไปจัดรายการในสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศได้ โดยอาจจะมีการผ่อนปรนในเรื่องของระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของประชาชน เช่น ในเรื่องของใบอนุญาตผู้ประกาศตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปพลางก่อน จนกว่าการคัดเลือกและแต่งตั้ง กสช. และ กทช. จะแล้วเสร็จ
3.  การใช้คลื่นความถี่ของทางราชการที่มีอยู่แล้ว โดยมีกรอบการดำเนินการ ดังนี้
3.1 จัดตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย นักวิชาการสื่อสารมวลชน เป็นกรรมการ และผู้แทนจากกรมประชาสัมพันธ์เป็นกรรมการและเลขานุการ
3.2 กรอบในการบริหารโครงการและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
1)
กำหนดแผนการดำเนินการวิทยุชุมชน
2)
การดำเนินการวิทยุชุมชนสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
3)
คลื่นความถี่ที่นำมาใช้ดำเนินการ ใช้คลื่นความถี่เดิม แต่นำมาทำซ้ำกับพื้นที่ใหม่
4)
กำหนดคุณสมบัติของผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนในพื้นที่ 24
การแข่งขันจัดตั้งและภาวะไร้กฎหมายบังคับ
ปรากฏการของความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมาย  และความกดดันทางการเมืองในช่วงปี 2546 2547   ยังส่งผลให้เกิดความสับสนในการพัฒนาของวิทยุชุมชน   ดังจะเห็นว่าแม้เป็นที่ชัดเจน   ว่าการยอมให้มีการใช้คลื่นวิทยุใหม่ไม่สามารถทำได้   แต่ก็มิได้มีการบังคับจับกุมแต่อย่างใดจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
การยอมยกเว้นของรัฐบาลที่ให้มีการกำหนดจุดปฏิบัติการเรียนรู้ฯ โดยวิทยุชุมชนที่ทำอยู่แล้วให้ทำต่อไปได้โดยต้องอยู่ในเกณฑ์  และผู้ที่จะเปิดใหม่ต้องผ่านการเรียนรู้และเข้าระบบนั้น  ในความเป็นจริง  ปรากฏว่าสถานีวิทยุชุมชนที่มีอยู่นั้น  กำหนดคลื่นความถี่ขึ้นใช้เองเป็นคลื่นใหม่ตามอำเภอใจ  โดยกำหนดซอยคลื่นความถี่เป็นช่วง  .25 บ้าง  .70 บ้าง  แทรกอยู่ระหว่างคลื่นความถี่ปกติที่มีช่วงระหว่างคลื่นเป็น .0 และ .5
การเกิดสถานีใหม่นี้ ก็เกิดขึ้นเองเมื่อคิดว่าตัวเองพร้อม โดยไม่ได้สนใจที่จะเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะให้ความรู้  และส่วนใหญ่ก็มิได้มีการจดรับรองจากคณะกรรมการว่าเป็นจุดปฏิบัติการเรียนรู้แต่อย่างไร
สี่งสำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินการด้านวิทยุ  เกณฑ์ทางเทคนิคที่กำหนดลักษณะพึงประสงค์ ในข้อ 8  ที่กำหนดให้มีกำลังส่งไม่เกิน 30 วัต  มีเสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตร และมีรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร  ก็ไม่ได้รับการปฏิบัติตามเช่นกัน
ปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน
การที่ขาดองค์กรอิสระ กสช. ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับกิจการวิทยุเนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งให้สำเร็จได้นี้  ประกอบกับการที่องค์กรเดิมที่มีหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ไปตามที่ควรจะเป็น  ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเป็นอย่างมาก  ปัญหาสำคัญๆ ที่พอจะระบุได้มีดังนี้
1.  เกิดคลื่นแทรกสถานีหลัก  หากติดตามข่าวสารเรื่องวิทยุชุมชนในวันนี้  จะพบว่าประชาชนมีข้อร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับคุณภาพการรับฟัง  ว่าสถานีหลักที่เคยรับฟังชัดเจน  ได้ถูกคลื่นแทรกจากสถานีวิทยุชุมชน
2.  เกิดการรบกวนวิทยุการบิน  วิทยุชุมชน อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการรบกวนวิทยุการบิน  และเรื่องนี้ ได้นำไปสู่การเตือนที่มีผลให้สถานีวิทยุบางสถานี ต้องปิดตัวเอง (ชั่วคราว)
3.  เกิดการถูกหลอกลวง  กระแสการเกิดวิทยุชุมชน  ได้ทำให้มีผู้ฉวยโอกาสไปชักชวนให้ชุมชนต่างๆ จัดตั้งวิทยุชุมชนของตนขึ้น  โดยอ้างว่าสามารถทำได้  และถ้าไม่ทำ ต่อไปถ้ามี กสช. แล้ว  ก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป  และผู้หลอกลวง ก็ถือโอกาสชักชวนให้ซื้อเครื่องส่ง  เสาอากาศ และจัดทำห้องส่งให้  นอกจากการหลอกขายของแล้ว  เครื่องส่งหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ชุมชนซื้อไปนี้  ยังเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ  สัญญาณมีการรั่วไหล  และไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
4.  กำเนิดวิทยุชุมชนแอบแฝง  วิทยุชุมชนในยุคแรก เป็นวิทยุชุมชนที่ทำงานโดยชุมชนจริง คือทำงานแบบอาสาสมัคร  แต่ต่อมา ได้มีการแอบแฝงทำธุรกิจเกิดขึ้น  โดยเฉพาะเมื่อกรมประชาสัมพันธ์ได้พยายามเข้ามาจัดระเบียบ และอนุญาตให้มีการโฆษณาได้ 6 นาทีต่อชั่วโมง ได้เกิดผู้แอบแฝงเข้ามาทำวิทยุชุมชนเป็นจำนวนมาก
5.  การร้องเรียนเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม  การเกิดขึ้นของวิทยุชุมชนที่แอบแฝง  ได้ส่งผลต่อผู้ประกอบการวิทยุที่ถูกต้อง  ผู้ประกอบการตามกฎหมายได้ร้องเรียนว่า การจัดทำวิทยุที่ถูกกฎหมาย  พวกตนต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสัมปทาน  ต้องเสียภาษีถูกกฎหมาย  แต่หนสุดท้าย ไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ  ต้องถูกตัดราคาค่าโฆษณาจากวิทยุชุมชนที่ไม่มีต้นทุนสัมปทาน ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ และไม่เสียภาษี  ซ้ำรายการที่ออกอย่างถูกกฎหมาย  ต้องถูกรบกวนโดยคลื่นแทรก
6.  คุณภาพรายการ  มีผู้ร้องเรียนเรื่องคุณภาพรายการที่ออกอากาศ  เมื่อวิทยุชุมชนมีจำนวนมาก เกิดการแทรกคลื่นกันเอง  เกิดการแย่งชิงโฆษณาและแย่งชิงผู้ฟัง  ที่สุดแล้ว  วิทยุชุมชนก็มีการทะเลาะกันเองออกอากาศ การจัดรายการในลักษณะกึ่งสมัครเล่น ทำให้เกิดรายการคุณภาพต่ำ รสนิยมเลว  การใช้ภาษาที่ไม่ควรออกอากาศ
ความเสี่ยงและอนาคต
จากปัญหาที่กล่าวแล้วข้างต้น  ไม่ได้หมายความว่าวิทยุชุมชนเป็นของที่ผิดกฎหมายหรือไม่ดีเสียทั้งหมด  เพียงแต่บทความนี้  เป็นบทความสั้นๆ ที่ประสงค์จะให้ภาพถึงปัญหาที่เกิดจากวิทยุชุมชนในวันนี้เท่านั้น
โดยความเป็นจริง วิทยุชุมชนยังมีประโยชน์และสิ่งดีๆ อยู่เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะวิทยุชุมชนที่ยึดมั่นในแนวคิดของวิทยุชุมชนที่แท้จริง
วิทยุชุมชนจำนวนมาก ออกอากาศในเรื่องของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นเรื่องของชุมชนอย่างแท้จริง  บทบาทในการให้ความรู้  รักษาวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น บทบาทในการ่วมแก้ปัญหาของชุมชน  การร่วมกับชุมชนพัฒนาความเป็นอยู่ และแม้กระทั่งการร้องทุกข์ เตือนภัย  ก็เป็นเรื่องเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม  วิทยุชุมชนก็ยังต้องรอวันเวลา ที่กฎหมายเป็นกฎหมาย และมีการบังคับใช้อย่างเป็นธรรมโดยองค์กรที่เข้าใจในประโยชน์และศักยภาพของสื่อนี้ 
ต่อไปในอนาคต  วิทยุชุมชนที่แอบแฝงหาประโยชน์  ควรได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง  ซึ่งก็ไม่น่าจะยากเกิน  หากบทบัญญัติเรื่องวิทยุเอกชนเชิงพาณิชย์มีโอกาสเกิดขึ้น
การจัดหางบอุดหนุนในรูปของกองทุนจากองค์กรอิสระ  ก็อาจทุเลาปัญหาเรื่องการแสวงรายได้มาจุนเจือตนเอง  เป็นการลดความเย้ายวนใจเรื่องโฆษณา และลดต่อไปในเรื่องของการแอบแฝง
            การจัดให้มีแหล่งความรู้และการฝึกอบรม ไม่ว่าจะภาคประชาชนด้วยกันเอง  จากสถาบันการศึกษา  หรือจากภาคสาธารณะประโยชน์หรือรัฐ  ก็เป็นแนวทางที่ดีในการยกระดับคุณภาพรายการและการจัดการของวิทยุชุมชน
ในอีกมุมหนึ่ง  การบังคับใช้กฎหมาย  ก็จะตะล่อมให้วิทยุชุมชนที่ประสงค์จะดำเนินการในลักษณะอื่น  ได้มีโอกาสทำได้อย่างถูกต้อง และมีเวลาที่จะต้องปรับตัวรับกับโอกาสและกฎระเบียบที่ชัดเจน
สรุป
วิทยุชุมชนวันนี้  มีกำเนิดมาจากความตื่นตัวและความสนใจของประชาชน ในขณะที่ภาครัฐ กำลังอยู่ในช่วงของการส่งผ่านอำนาจระหว่างองค์กรเดิม กับองค์กรใหม่ในรูปองค์กรอิสระ  เป็นโชคไม่ดีอย่างยิ่ง  ที่การจัดตั้งองค์กรเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญนี้ เกิดความล่าช้าและไม่สามารถจัดตั้งให้สำเร็จได้ในเวลาอันสมควร  ภาวะของความต้องการของประชาชนและการจัดระเบียบของเจ้าหน้าที่  จึงเกิดความไม่สอดคล้องกันขึ้น  ผลก็คือปัญหานานาประการดังได้กล่าวไปแล้ว  อย่างไรก็ตาม  ภาพปัญหาที่เห็น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงภาพชั่วคราว  เพราะหากวิเคราะห์แล้ว  ปัญหาที่เป็นอยู่ล้วนเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ทั้งสิ้น  จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าในอนาคต  ประชาชนโดยเฉพาะชุมชนต่างๆ  น่าจะได้รับประโยชน์จากสื่อชนิดนี้ได้อย่างเต็มที่  ตามที่ควรจะเป็น

____________________________


เกี่ยวกับผู้เขียน


ชื่อ สกุล:                     ดร. พนา ทองมีอาคม
ตำแหน่งงาน:                 รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์
ประวัติการศึกษา:            2514 - นิเทศศาสตร์บัณฑิต (สื่อสารมวลชน-เกียรตินิยม, จุฬาฯ)
                                    2519 - MA in Advertising (Michigan State University)
                                    2528 - ปริญญาเอก (The University of Texas at Austin)
สถานที่ทำงาน:               ภาควิชาการประชาสัมพันธ์  คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. 0-2218-2163

ที่อยู่                              88 หมู่ 5 สุขสวัสดิ์ 30

                                    แขวงบางปะกอก ราษฎรบูรณะ
กทม. 10140
e-mail:                          tpana@chula.ac.th



[1] ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 678 วันที่ 30 พ.ค. 5 มิ.ย. 2548

26 กรกฎาคม 2553

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิกุลโฆษณา | pikul advertising radio station

Email:w2e8080@hotmail.com
http://www.pikulradio.com/

ไทย เรดิโอ ทอร์ค ดอทคอม Thai Radio Talk thailand DJ webboard

ไทย เรดิโอ ทอร์ค ดอทคอม

อีกหนึ่งบริการจากทีมงานโกยจังโก้ ได้ทำการสร้างเวทีสำหรับการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข่าวสาร สำหรับคนในวงการวิทยุของไทยขึ้นมา ซึ่งกระดานข่าวนี้จะเหมาะสำหรับผู้บริหาร นักจัดรายการวิทยุ ฝ่ายการตลาด ช่างที่บริการติดตั้งสถานีวิทยุ รวมถึงบุคคลทั่วไป

http://www.ThaiRadioTalk.com

เชิญสัมผัสกันได้นะคับ

19 กรกฎาคม 2553

โปรโมชั่นพิเศษ ฮอนด้า คลิก และ สกู๊ปปี้ ไอ ไม่ต้องดาวน์ | no dow promotion honda click and honda scoopy i at phairoj panich sisaket

โปรโมชั่นพิเศษ ฮอนด้า คลิก และ สกู๊ปปี้ ไอ ไม่ต้องดาวน์

ตั้งแต่วันนี้ - 31 ก.ค. 53

ที่ บริษัท ไพโรจน์พานิช ศรีสะเกษ
โทร 045-611-499

โรงแรมสะหวันเวกัส รีสอร์ท รับสมัครพนักงานฝ่ายการตลาดสาขาอุดรธานี และ โคราช | hotel job savan vegus udontani nakornrachasima marketing

ต้องการด่วนคะ โรงแรมสะหวันเวกัส รีสอร์ท   รับสมัครพนักงานฝ่ายการตลาดสาขาอุดรธานี และ โคราช

คุณสมบัติ
ปริญญาตรี
มีประสบการณ์ทำงานด้านการโรงแรม
พูด,อ่าน และเขียน ภาษาอังกฤษได้จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ
อายุระหว่าง 22-30 ปี
ติดต่อได้ที่ฝ่ายการ ตลาด  089-191-3780 และ 086-455-8424

26 มิถุนายน 2553

การทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ | Old Peaple eating meet weight control

ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่มีหลักว่า ต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เราควรกินอาหาร วันละ 3 มื้อ โดยดูว่าหลังอาหารมื้อนั้นจะทำอะไร ถ้าทำงานหลังอาหารมื้อก็กินอาหารนักและมากพอกับงาน แต่ถ้าทำกิจกรรมเบาๆ ก็กินพออยู่ท้อง หลังอาหารมีอาหารว่าง หรือเป็นผลไม้ชนิดไม่หวาน น้ำสะอาดไม่จำกัดปริมาณ หรือถ้าหิว ก็ดื่มนมเปรี้ยวทำจากนมสดพร่องมันเนย จะเห็นว่าไม่มีของหวานเลย เพราะได้จากผลไม้อยู่แล้ว  ขอให้ยึดหลักของรายการอาหารผู้สูงอายุ 3 มื้อต่อวัน ซึ่งเป็นตัวอย่างไว้ 1 อาทิตย์ แต่ต้องไม่ลืมออกกำลังกาย จะควบคุมน้ำหนักได้ และสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคมารบกวน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/apr/apr13_op_see_spfood01.html

กาีรขี่มอเตอร์ไซต์ในช่วงหน้าฝน | rain season riding motorbike

มอเตอร์ไซค์ ก็ควรตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ให้พร้อม ปัญหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสตาร์ทไม่ติดสาเหตุมักจะมาจากหัวเทียนมีปัญหา นอกจากนี้ก็ควรตรวจสอบสภาพของยาง ลมยาง ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง ตลอดจนระบบเบรคหน้าและหลัง นอกจากนี้ควรตรวจสอบระบบไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไฟเบรค ด้วยว่าสามารถใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน

สำหรับผู้ขี่รถมอเตอร์ไซค์ควรสวมหมวกกันน็อค และเตรียมเสื้อกันฝนให้พร้อม เปิดไฟหรี่หรือไฟหน้ารถ ขับขี่ชิดซ้าย ลดความเร็วลงและบังคับรถให้อยู่ในเลน ในกรณีที่ฝนตกหนักมากจนมองไม่เห็นสภาพถนนข้างหน้า ควรจอดรถชิดข้างทาง รถยนต์ความเปิดไฟกระพริบเพื่อให้สัญญาณกับรถคันอื่นทราบว่ารถเราจอดนิ่งอยู่กับที่แล้ว รอฝนซาแล้วค่อยเดินทางต่อ

19 มิถุนายน 2553

สะหวันเวกัส ภูมิใจเสนอ รางวัลมากมาย สำหรับคุณ ผู้ชนะ มูลค่ารวมกว่า 800,000 บาท ในเกมส์ สล็อท ปะทะ บัคคาร่า | savan vegus cabara slot machine promotion

สะหวันเวกัส ภูมิใจเสนอ รางวัลมากมาย สำหรับคุณ ผู้ชนะ มูลค่ารวมกว่า

800,000 บาท ในเกมส์ สล็อท ปะทะ บัคคาร่า

รางวัลที่ 1 รับบัตรเล่นเกมส์ มูลค่า 500,000 บาท

พร้อม ห้องพัก เพรสสิเดนท์เทียล สูท (presidential suite) 3 วัน 2 คืน รวมอาหาร 3 มื้อ และ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ – สะหวันนะเขต

รางวัลที่ 2 รับบัตรเล่นเกมส์ มูลค่า 250,000 บาท

พร้อม ห้องพัก เพรสสิเดนท์เทียล สูท (presidential suite) 3 วัน 2 คืน รวมอาหาร 3 มื้อ และ ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ – สะหวันนะเขต

โปรโมชั่นนี้ เริ่ม วันที่ 5 กรกฎาคม ถึง 11 กรกฎาคม 2553 นี้เท่านั้น

ติดต่อสอบถามได้ที่ เวลคัมเซ็นเตอร์ ออฟฟิศ สะพานมิตรภาพ 2 มุกดาหาร 086-458-7467 ออฟฟิศ สถานีขนส่ง บ.ข.ส มุกดาหาร 086-455-5789 หรือ ติดต่อฝ่ายการตลาด โทร 086-459-8268

สะหวันเวกัส แจกโชคใหญ่ ในงาน สะหวันเวกัส กอร์ฟ ทัวร์นาเมนท์ 2010 | savan vegun golf tournament promotion

สะหวันเวกัส  แจกโชคใหญ่  ในงาน สะหวันเวกัส  กอร์ฟ ทัวร์นาเมนท์  2010
ในวันที่  24 มิถุนายน และ วันที่ 8 กรกฎาคม  2553 นี้
รางวัล มูลค่ารวม  กว่าล้าน บาท และ กิจกรรมอีกมากมายภายในงาน เพื่อสมนาคุณ สมาชิกทุกท่าน  ขอเชิญท่านมาร่วมงานและรับโชค กับเราที่ โรงแรม สะหวันเวกัส แหล่งบันเทิง ครบวงจร ท่านที่ต้องการเข้าร่วมการแข่งขัน หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ติดต่อสอบถามได้ที่  เวลคัมเซ็นเตอร์ ออฟฟิศ สะพานมิตรภาพ 2 มุกดาหาร  086-458-7467 ออฟฟิศ สถานีขนส่ง บ.ข.ส มุกดาหาร  086-455-5789 หรือ ติดต่อฝ่ายการตลาด โทร 086-459-8268

อย่าลืม  อย่าพลาด โอกาสทอง  นะคะ/ ครับ

โรงแรมสะหวันเวกัส สาขา โคราช และ อุดรธานี ต้องการ พนักงานใหม่ แผนก ขาย และ การตลาด | savan vegus hotel human resource

โรงแรมสะหวันเวกัส สาขา โคราช และ อุดรธานี
ต้องการ พนักงานใหม่ แผนก ขาย และ การตลาด
คุณสมบัติ
- ชาย หรือ หญิง  อายุ ระหว่าง 20-30 ปี
- บุคลิกดี มารยาทดี มี สัมพันธไมตรี
- สามารถทำงานหลายชั่วโมงได้
- รักการทำงาน และ อยาก แสดงความสามารถ
- รายได้ดี
ท่านใดต้องการ ร่วมงานกับโรงแรมสะหวันเวกัส รีสอร์ท แอนด์ คาสิโน สาขา โคราช และ อุดร
กรุณา เมล์ เอกสาร การศึกษา คุณสมบัติของท่าน ไปที่ sales.marketing@savanvegas.com

หรือ โทรถาม ได้ที่ คุณ ลี  085 -002-6376

18 มิถุนายน 2553

สถานีวิทยุในจังหวัดอุบลราชธานี | Ubon Radio Station FM AM All

ระบบ FM
  1. FM 87.50 MHz วิทยุรัฐสภา
  2. สถานีวิทยุ ทภ. 2 FM.อุบลฯ FM. 95.75 MHz.
  3. สถานีวิทยุ สวท. อุบลฯ FM.AM. 98.5 MHz.1341 KHz.
  4. สถานีวิทยุ สวพ. อุบลฯ FM. 99.50 MHz.
  5. สถานีวิทยุ 1 ปณ.อุบลฯ FM. 102.0 MHz.
  6. สถานีวิทยุ สทร. 9 อุบลฯ FM. 104.0 MHz
  7. สถานีวิทยุ ทอ.08 อุบลฯ FM. 105.75MHz..
  8. สถานีวิทยุ อสมท. อุบลฯ FM. 107.0 MHz.
ระบบ FM วิทยุชุมชน

  1. FM 88.00 MHz วิทยุสาธารณสุข  045-268-233

  2. FM 89.50 MHz
  3. FM 90.00 MHz
  4. FM 90.75 MHz ชุมชนไร่น้อย  045-435-322
  5. FM 91.25 อ.เมือง อุบลราชธานี ชุมชนดอนกลาง  045-284-613
  6. FM 92.75 อ.เมือง อุบลราชธานี ราชเวช
  7. FM 93.00 MHz  ร.ร.กีฬา  โรงเรียนกีฬา Click FM โทร 045-280-988
  8. FM 96.5 อ.เมือง อุบลราชธานี ครูบ้านป่า  045-314-378
  9. FM 97.00 อ.เมือง อุบลราชธานี ชุมชน  045-475-032
  10. FM 97.5 MHz วทช. อพปร วารินชำราบ อุบลฯ FM 97.5 MHz
  11. FM 98.25 หมู่บ้านอริยะทรัพย์ ชุมชนอริยะทรัพย์  045-355-269
  12. FM 98.50 อ.เมือง อุบลราชธานี ปปส
  13. FM 99.25 อ.เมือง อุบลราชธานี
  14. FM 99.50 อ.เมือง อุบลราชธานี พิทักษ์สันติราษฎร์
  15. FM 100.50 อ.เมือง อุบลราชธานี
  16. FM 101.25 อ.เมือง อุบลราชธานี ชุมชนดอนยูง 045-316-292  
  17. FM 101.50 สวนวนารมย์  วิทยุวนารมย์  045-314-567  
  18. FM 103 MHz สถานีวิทยุชุมชนคนสู้ชีวิต
  19. FM 103.50 MHz ชุมชนทุ่งศรีเมือง 045-362-317 มือถือ 0892854556 Email.watthungstation@hotmail.com www.watthongubon.com
  20. FM 104.25 อ.เมือง อุบลราชธานี  
  21. FM 105.80 อ.เมือง อุบลราชธานี
  22. FM 106.00 อ.เมือง อุบลราชธานี
  23. FM 108.00 อ.เมือง อุบลราชธานี
ระบบ AM

  1. สถานีวิทยุ สวศ. อุบลฯ AM. 711 KHz.
  2. สถานีวิทยุ ทภ.2 AM. AM. 1215 KHz.
  3. สถานีวิทยุ วปถ.6 อุบลฯ AM 1287 KHz.