ณ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศนืแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2553
รวม 5 วันไม่เว้นวันหยุด
เอกสารที่ใช้สมัคร
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ (พร้อมรับรองสำเนา)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาบัตรข้าราชการ จำนวน 2 ฉบับ (พร้อมรับรองสำเนา)
- รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 5 รูป (พร้อมเขียนชื่อ-นามสกุลหลังรูปถ่าย)
ค่าใช้จ่ายในการอบรม 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน)
- ราคานี้รวม ค่าเอกสารในการอบรม ค่าอาหารกลางวัน ค่าเบรกกาแฟ 2 มื้อ/วัน
- เสื้อสมาคม 1 ตัว
- ทำเนียบรุ่น 1 เล่ม
สิ่งที่ท่านจะได้รับ เมื่อผ่านการอบรม
- ใบประกาศนียบัตร
- บัตรเจ้าหน้าที่รายการ
- บัตรสมาชิกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พหลโยธิน ซอย 7 (อาคารหน้ากรมสรรพากร) พญาไทย กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-278-5665 , 02-278-5669
Fax : 02-278-5664
Email : boat@windowslive.com
http://boat2008.spaces.live.com
รับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สายด่วน : 081-595-2122 , 045-612607 อีเมล์ : webmaster@JarungJai.com ไลน์ไอดี suriyalive
26 เมษายน 2553
20 เมษายน 2553
15 เมษายน 2553
13 เมษายน 2553
อนาคตของสื่อ บทความดี ของ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จาก thaivi | the future of media
อนาคตของสื่อ บทความดี ของ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จาก thaivi
อนาคตของสื่อ
โลกในมุมมองของ Value Investor 10 เมษายน 53
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน นั้น เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการโน้มน้าวจิตใจคนให้เห็นด้วย หรือคัดค้าน กับประเด็นที่มีการนำเสนอ ประเด็นที่นำเสนอนั้น เป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องของการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ดังนั้นจึงมีคำพูดที่ยอมรับกันแพร่หลายว่า “ผู้คุมสื่อคือผู้ที่คุมอำนาจ”
อำนาจของสื่อในโลกของทุนนิยมนั้น แน่นอน สามารถ “ทำเงิน” ได้ บริษัทสื่อที่ “ทรงอิทธิพล” นั้น สามารถทำเงินได้มหาศาล วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้มองเห็นจุดนี้ก่อนคนอื่นและได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทวอชิงตันโพสต์ในช่วงที่ราคาหุ้นยังต่ำมากเมื่อหลายสิบปีก่อน หลังจากนั้น ราคาหุ้นของโพสต์ก็ปรับตัวขึ้นมามากและกลายเป็น “ตำนาน” การลงทุนหนึ่งของบัฟเฟตต์ ต่อมา เขาก็ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทโทรทัศน์ชั้นนำที่ก้าวขึ้นมาโดดเด่นแทนที่หนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ บัฟเฟตต์เองก็ยอมรับว่า ธุรกิจและความสามารถในการทำเงินของหุ้นสื่อนั้น “เปลี่ยนไปแล้ว” มันไม่ดีเหมือนก่อนเพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สื่อมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางมากผ่านอินเตอร์เน็ตและเคเบิลทีวีที่สามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก สิ่งเหล่านี้กัดกร่อนกำไรของสื่อยุคเก่ามหาศาล
ลองมาดูกิจการสื่อของเมืองไทยว่าอนาคตจะไปทางไหน เริ่มจากหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ ในเมืองไทยนั้น เป็นที่ยอมรับว่าคนไทยไม่ใคร่อ่านหนังสือมากนัก ดังนั้นตลาดของหนังสือพิมพ์จึงไม่ใหญ่เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ในอดีตหนังสือพิมพ์ค่อนข้างจะมีบทบาทพอสมควรเนื่องจากการเปิดหนังสือพิมพ์ทำได้ยาก ดังนั้น หนังสือพิมพ์ที่ติดตลาดจึงพอมีกำไร ส่วนหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมน้อยก็มักจะขาดทุน แต่แม้ว่าหนังสือพิมพ์จะขาดทุน บ่อยครั้งมันก็มักจะไม่ถูกปิดตัวลง สาเหตุก็เพราะว่า หนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยเหตุผลหลักก็คือ มันเป็นฐาน “อำนาจ” ของเจ้าของ ไม่ได้เป็นธุรกิจที่หวังกำไร ดังนั้น ปริมาณหรืออุปทานของหนังสือพิมพ์จึงมักจะมีสูงกว่าความต้องการหนังสือพิมพ์เสมอ กำไรของหนังสือพิมพ์จึงไม่ดี
อนาคตของหนังสือพิมพ์นั้นยิ่ง “มืดมน” กว่าปัจจุบัน สาเหตุก็เพราะว่ามีการเติบโตของสื่ออินเตอร์เน็ตที่ทำให้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือพิมพ์แต่สามารถเข้าไปอ่านข่าวในเน็ตได้ ข่าวในอินเตอร์เน็ตนั้นสะดวกและรวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์มาก ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ตตั้งแต่เด็กจะอยู่ห่างจากหนังสือพิมพ์ออกไปทุกที ส่วนคนที่มีอายุมากและยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือพิมพ์เองนั้น ผมก็คิดว่าน่าจะอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลงและอ่านข่าวจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น สรุปแล้ว หนังสือพิมพ์นั้นผมคิดว่าเป็นอุตสาหกรรมที่กำลัง “ตกดิน”
ธุรกิจแมกกาซีนนั้น มักมีลูกค้าหรือผู้อ่านชัดเจน และสิ่งที่จะมาทดแทนยังไม่ชัดเจน ดังนั้น แมกกาซีนที่ติดตลาดก็ยังสามารถรักษาลูกค้าและทำกำไรได้ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของแมกกาซีนนั้นทำได้ยากมากเนื่องจากความสนใจของคนรุ่นใหม่นั้น เน้นไปที่สื่อสารประเภทอื่นโดยเฉพาะที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเป็นแบบมัลติมีเดีย ดังนั้น ธุรกิจนิตยสารต่าง ๆ สำหรับผมแล้วก็คงไม่ดีนัก และแม้ว่าจะไม่ถึงกับ “ตกดิน” แต่ก็คงจะโตช้ามาก
ธุรกิจทีวีมวลชนซึ่งออกอากาศให้ชมฟรีนั้น เป็นธุรกิจที่ดีมากจนถึงปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งนั้นเป็นเพราะมันมีสถานีไม่กี่แห่งและมันฟรี ดังนั้น มันจึงมี “ลูกค้า” หรือผู้ชมมากมายเป็นล้าน ๆ คน ดังนั้น แต่ละสถานีจึงสามารถขายโฆษณาได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ต้นทุนในการทำรายการและการส่งออกอากาศนั้นไม่สูงนัก กำไรของบริษัททีวีจึงค่อนข้างดี นอกจากนั้นหลังจากการลงทุนไปในครั้งแรกแล้ว สถานีโทรทัศน์ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีก และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณทีวีก็มีน้อยมาก ทำให้กระแสเงินสดของกิจการดีมาก ส่งผลให้หุ้นบริษัททีวีสามารถจ่ายปันผลได้ค่อนข้างสูง
แต่อนาคตของธุรกิจฟรีทีวีนั้นกลับเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน เหตุผลก็คือ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ทำให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเป็นร้อย ๆ ช่องและด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก ผู้ชมก็สามารถรับสัญญาณเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก ดังนั้น ฟรีทีวีจึงต้องเผชิญกับคู่แข่งใหม่จำนวนมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็เริ่มหันเหจากการชมทีวีไปเป็นการเข้าไปอ่านหรือชมข่าวสารข้อมูลและบันเทิงทางอินเตอร์เน็ต ปรากฏการณ์เหล่านี้เริ่มขึ้นแล้ว ว่าที่จริงในประเทศที่เจริญแล้วก็พบว่าโฆษณาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มท้าทายทีวีอย่างมีนัยสำคัญ เมืองไทยเองในที่สุดก็หนีไม่พ้น แม้ว่าในขั้นนี้ยังมีแค่เคเบิลทีวีที่ดูเหมือนว่าจะมีบทบาทท้าทายฟรีทีวีอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สำหรับผมแล้ว อนาคตของฟรีทีวีไม่สดใสนัก
ควบคู่ไปกับทีวีก็คงเป็นเรื่องของวิทยุ นี่เป็นสื่อที่พอใช้ได้เฉพาะสำหรับคลื่นที่ติดตลาด อย่างไรก็ตาม วิทยุไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่อีกต่อไป ผู้ฟังวิทยุนั้น จำนวนมากฟังในขณะขับรถที่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากฟัง ดังนั้น ธุรกิจวิทยุนั้น เป็นได้เฉพาะ “ธุรกิจเสริม” ของธุรกิจอื่น เช่น ทีวี บันเทิง เป็นต้นและไม่ว่าจะเป็นอย่างไร วิทยุ นั้น ไม่ใช่ธุรกิจที่จะเติบโตได้อีกต่อไป
อนาคตสำหรับธุรกิจสื่อนั้น ถ้าเป็นในระดับโลกก็คือ “สื่อยุคใหม่” เช่นพวกเว็บไซ้ต์อย่างกูเกิล และอื่น ๆ สื่อที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลแต่ก็จะมีจำนวนน้อยมาก เพราะสื่อยุคใหม่นั้นมักจะเป็นลักษณะ “ผู้ชนะกินรวบ” นั่นคือ ผู้แพ้จะถูกบีบให้ออกจากตลาดหมด ทำให้ผู้ชนะได้ลูกค้ามากขึ้น ๆ และได้กำไรทบทวีขึ้น ส่งผลให้หุ้นมีค่ามหาศาล อย่างไรก็ตาม หุ้นลักษณะดังกล่าวนั้น มักจะมีการให้บริการทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นการยากสำหรับหุ้นสื่อของประเทศไทยที่จะสามารถต่อสู้ได้ ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ บริษัทและหุ้นสื่อนั้น “เหนื่อย” ครับ
อนาคตของสื่อ
โลกในมุมมองของ Value Investor 10 เมษายน 53
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน นั้น เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการโน้มน้าวจิตใจคนให้เห็นด้วย หรือคัดค้าน กับประเด็นที่มีการนำเสนอ ประเด็นที่นำเสนอนั้น เป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องของการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ดังนั้นจึงมีคำพูดที่ยอมรับกันแพร่หลายว่า “ผู้คุมสื่อคือผู้ที่คุมอำนาจ”
อำนาจของสื่อในโลกของทุนนิยมนั้น แน่นอน สามารถ “ทำเงิน” ได้ บริษัทสื่อที่ “ทรงอิทธิพล” นั้น สามารถทำเงินได้มหาศาล วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้มองเห็นจุดนี้ก่อนคนอื่นและได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทวอชิงตันโพสต์ในช่วงที่ราคาหุ้นยังต่ำมากเมื่อหลายสิบปีก่อน หลังจากนั้น ราคาหุ้นของโพสต์ก็ปรับตัวขึ้นมามากและกลายเป็น “ตำนาน” การลงทุนหนึ่งของบัฟเฟตต์ ต่อมา เขาก็ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทโทรทัศน์ชั้นนำที่ก้าวขึ้นมาโดดเด่นแทนที่หนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ บัฟเฟตต์เองก็ยอมรับว่า ธุรกิจและความสามารถในการทำเงินของหุ้นสื่อนั้น “เปลี่ยนไปแล้ว” มันไม่ดีเหมือนก่อนเพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สื่อมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางมากผ่านอินเตอร์เน็ตและเคเบิลทีวีที่สามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก สิ่งเหล่านี้กัดกร่อนกำไรของสื่อยุคเก่ามหาศาล
ลองมาดูกิจการสื่อของเมืองไทยว่าอนาคตจะไปทางไหน เริ่มจากหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ ในเมืองไทยนั้น เป็นที่ยอมรับว่าคนไทยไม่ใคร่อ่านหนังสือมากนัก ดังนั้นตลาดของหนังสือพิมพ์จึงไม่ใหญ่เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ในอดีตหนังสือพิมพ์ค่อนข้างจะมีบทบาทพอสมควรเนื่องจากการเปิดหนังสือพิมพ์ทำได้ยาก ดังนั้น หนังสือพิมพ์ที่ติดตลาดจึงพอมีกำไร ส่วนหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมน้อยก็มักจะขาดทุน แต่แม้ว่าหนังสือพิมพ์จะขาดทุน บ่อยครั้งมันก็มักจะไม่ถูกปิดตัวลง สาเหตุก็เพราะว่า หนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยเหตุผลหลักก็คือ มันเป็นฐาน “อำนาจ” ของเจ้าของ ไม่ได้เป็นธุรกิจที่หวังกำไร ดังนั้น ปริมาณหรืออุปทานของหนังสือพิมพ์จึงมักจะมีสูงกว่าความต้องการหนังสือพิมพ์เสมอ กำไรของหนังสือพิมพ์จึงไม่ดี
อนาคตของหนังสือพิมพ์นั้นยิ่ง “มืดมน” กว่าปัจจุบัน สาเหตุก็เพราะว่ามีการเติบโตของสื่ออินเตอร์เน็ตที่ทำให้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือพิมพ์แต่สามารถเข้าไปอ่านข่าวในเน็ตได้ ข่าวในอินเตอร์เน็ตนั้นสะดวกและรวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์มาก ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ตตั้งแต่เด็กจะอยู่ห่างจากหนังสือพิมพ์ออกไปทุกที ส่วนคนที่มีอายุมากและยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือพิมพ์เองนั้น ผมก็คิดว่าน่าจะอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลงและอ่านข่าวจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น สรุปแล้ว หนังสือพิมพ์นั้นผมคิดว่าเป็นอุตสาหกรรมที่กำลัง “ตกดิน”
ธุรกิจแมกกาซีนนั้น มักมีลูกค้าหรือผู้อ่านชัดเจน และสิ่งที่จะมาทดแทนยังไม่ชัดเจน ดังนั้น แมกกาซีนที่ติดตลาดก็ยังสามารถรักษาลูกค้าและทำกำไรได้ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของแมกกาซีนนั้นทำได้ยากมากเนื่องจากความสนใจของคนรุ่นใหม่นั้น เน้นไปที่สื่อสารประเภทอื่นโดยเฉพาะที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเป็นแบบมัลติมีเดีย ดังนั้น ธุรกิจนิตยสารต่าง ๆ สำหรับผมแล้วก็คงไม่ดีนัก และแม้ว่าจะไม่ถึงกับ “ตกดิน” แต่ก็คงจะโตช้ามาก
ธุรกิจทีวีมวลชนซึ่งออกอากาศให้ชมฟรีนั้น เป็นธุรกิจที่ดีมากจนถึงปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งนั้นเป็นเพราะมันมีสถานีไม่กี่แห่งและมันฟรี ดังนั้น มันจึงมี “ลูกค้า” หรือผู้ชมมากมายเป็นล้าน ๆ คน ดังนั้น แต่ละสถานีจึงสามารถขายโฆษณาได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ต้นทุนในการทำรายการและการส่งออกอากาศนั้นไม่สูงนัก กำไรของบริษัททีวีจึงค่อนข้างดี นอกจากนั้นหลังจากการลงทุนไปในครั้งแรกแล้ว สถานีโทรทัศน์ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีก และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณทีวีก็มีน้อยมาก ทำให้กระแสเงินสดของกิจการดีมาก ส่งผลให้หุ้นบริษัททีวีสามารถจ่ายปันผลได้ค่อนข้างสูง
แต่อนาคตของธุรกิจฟรีทีวีนั้นกลับเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน เหตุผลก็คือ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต ทำให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเป็นร้อย ๆ ช่องและด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก ผู้ชมก็สามารถรับสัญญาณเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก ดังนั้น ฟรีทีวีจึงต้องเผชิญกับคู่แข่งใหม่จำนวนมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็เริ่มหันเหจากการชมทีวีไปเป็นการเข้าไปอ่านหรือชมข่าวสารข้อมูลและบันเทิงทางอินเตอร์เน็ต ปรากฏการณ์เหล่านี้เริ่มขึ้นแล้ว ว่าที่จริงในประเทศที่เจริญแล้วก็พบว่าโฆษณาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มท้าทายทีวีอย่างมีนัยสำคัญ เมืองไทยเองในที่สุดก็หนีไม่พ้น แม้ว่าในขั้นนี้ยังมีแค่เคเบิลทีวีที่ดูเหมือนว่าจะมีบทบาทท้าทายฟรีทีวีอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สำหรับผมแล้ว อนาคตของฟรีทีวีไม่สดใสนัก
ควบคู่ไปกับทีวีก็คงเป็นเรื่องของวิทยุ นี่เป็นสื่อที่พอใช้ได้เฉพาะสำหรับคลื่นที่ติดตลาด อย่างไรก็ตาม วิทยุไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่อีกต่อไป ผู้ฟังวิทยุนั้น จำนวนมากฟังในขณะขับรถที่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากฟัง ดังนั้น ธุรกิจวิทยุนั้น เป็นได้เฉพาะ “ธุรกิจเสริม” ของธุรกิจอื่น เช่น ทีวี บันเทิง เป็นต้นและไม่ว่าจะเป็นอย่างไร วิทยุ นั้น ไม่ใช่ธุรกิจที่จะเติบโตได้อีกต่อไป
อนาคตสำหรับธุรกิจสื่อนั้น ถ้าเป็นในระดับโลกก็คือ “สื่อยุคใหม่” เช่นพวกเว็บไซ้ต์อย่างกูเกิล และอื่น ๆ สื่อที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลแต่ก็จะมีจำนวนน้อยมาก เพราะสื่อยุคใหม่นั้นมักจะเป็นลักษณะ “ผู้ชนะกินรวบ” นั่นคือ ผู้แพ้จะถูกบีบให้ออกจากตลาดหมด ทำให้ผู้ชนะได้ลูกค้ามากขึ้น ๆ และได้กำไรทบทวีขึ้น ส่งผลให้หุ้นมีค่ามหาศาล อย่างไรก็ตาม หุ้นลักษณะดังกล่าวนั้น มักจะมีการให้บริการทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นการยากสำหรับหุ้นสื่อของประเทศไทยที่จะสามารถต่อสู้ได้ ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ บริษัทและหุ้นสื่อนั้น “เหนื่อย” ครับ
06 เมษายน 2553
สถานีวิทยุชุมชนสันติสุข FM 93.0 MHz | santisuk radio sisaket station
ตั้งอยู่ที่ โรงแรมสันติสุข หลังสถานีรถไฟ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
ผังรายการ (ข้อมูลยังไม่ครบนะัคับ ทีมงานโกยจังโก้กำลังเก็บข้อมูลอยู่)
ผังรายการ (ข้อมูลยังไม่ครบนะัคับ ทีมงานโกยจังโก้กำลังเก็บข้อมูลอยู่)
- 12.00-17.00 น. ดีเจ อาฉี่ (ลูกทุ่ง)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)