27 กรกฎาคม 2552

จัดระเบียบวิทยุชุมชนเพื่อใคร

จัดระเบียบวิทยุชุมชนเพื่อใคร


กลายเป็น “ของคู่กัน” จนไม่สามารถแยกจากกันได้หากสังเกตการชุมนุมทาง การเมืองแต่ละครั้งจะพบว่า เครื่องมือสื่อสาร “ไฮเทค” ได้เข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้งไป อย่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เครื่องมือสนับสนุนคือ โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัวหรือที่เรียกติด ปากว่า “แพคลิ้งก์” รวมถึงการใช้โทรสาร “แฟกซ์” ติดต่อสื่อสารกัน จนเป็นที่กล่าวขานเรียกกันว่า “ม็อบมือถือ” ต่อมาในการชุมนุมของกลุ่มพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ก็พัฒนามาใช้เครื่องมือสื่อสารประเภท “ดาวเทียม” ทั้งโทรทัศน์และการโฟนอินข้ามประเทศ รวมถึง “วิทยุชุมชน” ซึ่งต้องยอมรับว่า เครื่องมือไฮเทคนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณอนันต์ แต่หากนำไปใช้ในทางไม่ถูกไม่ต้องก็ย่อมเกิดโทษมหันต์

น่าจับตาท่าที “ออกอาการ” ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณ ให้จัดการกับฝ่ายที่ลอบชกใต้เข็มขัดรัฐบาลของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนา คมแห่งชาติ (กทช.) เร่งรัด “จัดระเบียบ” ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศกว่า 4,000 คลื่น ให้เข้ามาอยู่ในหลักเกณฑ์และกฎระเบียบของ กทช. ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ในการควบคุมเทคนิคต่าง ๆ มิให้คลื่นวิทยุไปรบกวนคลื่นคนอื่น รวมถึงการควบคุมเนื้อหาต้องไม่ผิดศีลธรรม ทำลายชาติ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ล้มล้างสถาบันและการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ล่าสุดบอร์ด กทช. ได้ลงมติให้ประธาน กทช. ลงนาม ในประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุม ชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และร่างมาตรฐานทางเทคนิคกิจการบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ฉบับชั่วคราวเป็นที่เรียบร้อย คาดว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนมาลงทะเบียนภายใน 30 วัน เพื่อทดลองออกอากาศและทำเรื่องขอรับใบอนุญาตภายใน 300 วัน หากผ่านความเห็นชอบก็จะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ชั่วคราว 1 ปี แต่ถ้าสถานี ใดประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ก็ต้องไปขออนุญาตกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

เป้าประสงค์ของประกาศนี้มุ่งหวังให้วิทยุชุมชนไม่ ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะนำมาใช้ปลุกระดมหรือใช้ประโยชน์ทางการ เมืองในทางที่ไม่ถูกต้อง หากผู้ใดละเมิดจะมีความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หวังว่า งานนี้คงมิใช่การจับปูใส่กระด้ง ยืมดาบฆ่าศัตรูการเมือง.

ที่มาเดลินิวส์ 23กรกฎาคม 2552
http://www.isnhotnews.com/interview/2009/07/21792