30 กรกฎาคม 2552

เศร้าก็ไม่ตายเพราะ “อีกไม่นาน” ก็จะหาย ซิงเกิ้ลใหม่จาก “จุ๋ย จุ๋ยส์” และ “กางเกงลิงพเนจร”

เศร้าก็ไม่ตายเพราะ “อีกไม่นาน” ก็จะหาย ซิงเกิ้ลใหม่จาก “จุ๋ย จุ๋ยส์” และ “กางเกงลิงพเนจร”

อีกหนึ่งเพลงอารมณ์ดีจาก “กุดจี่”

หลังจากปะทุความสำเร็จกับซิงเกิ้ลเปิดตัว “บทที่ 1” ส่งทั้งเพลงและศิลปินให้ฮอตกันไปทั้งประเทศเรียบร้อยแล้ว “จุ๋ย จุ๋ยส์” ศิลปิน “อาร์ทตัวพี่” จากเชียงใหม่ ก็พร้อมจะส่งซิงเกิ้ลที่ 2 มาให้ ดี.เจ.และแฟนเพลงทุกคนได้ฟังกันอีกหนึ่งเพลงแล้ว คราวนี้ขอเปลี่ยนแนวมาเป็นเพลงช้า แบบเศร้าๆ แต่แค่ซึมๆ ยังไม่ถึงตาย ไม่ฟูมฟาย เพรา “อีกไม่นาน” ก็จะหาย เรียกว่าเป็นเพลงช้าแบบให้ความหวัง หรือรักคุดแบบมีกำลังใจ มองโลกในแง่บวก (ว่างั้น) ตามสไตล์อาร์ทตัวพี่ เป็นยังไงก็ลองไปฟังกันดูนะครับ ส่งลิ้งค์เพลงนี้มาพร้อมกับลิ้งค์เอ็มวี เรียกว่ามีทั้งเพลงให้ฟัง และยังมีภาพให้ทัศนาด้วย อยากรู้ว่าเศร้าแบบอาร์ทๆ เป็นแบบไหนไปติดตามกันนะครับ

อีกหนึ่งเพลงที่ส่งมาด้วยเป็นซิงเกิ้ลที่ 3 ของ ศิลปินนักเขียน “อารีดม-อารมณ์ดี” “กุดจี่” ส่งเพลงเร็กเก้อารมณ์สนุกสร้างรอยยิ้มที่มุมปาก แต่ซ่อนความหมายดีๆแบบรักเรารักษ์โลกอย่าง “กางเกงลิงพเนจร” มาให้ฟังและติดตามกัน ความพิเศษของเพลงนี้อยู่ที่การได้แขกรับเชิญ “เค พองพอง” มาร้องคู่กันได้อย่างสนุกสนานและลงตัว

ดี.เจ.ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดทั้งสองเพลง จากสองศิลปิน “อาร์ทตัวพี่” ของโซนี่มิวสิคได้จากลิ้งค์ด้านล่างเหมือนเดิมครับ ขอบคุณสำหรับการสนับสนุน และการต้อนรับงานศิลปะด้านเสียงเพลงที่แตกต่างด้วยดีเหมือนเดิมนะครับ


จุ๋ย จุ๋ยส์ ศิลปินชายไทยที่ไม่ธรรมดา เจ้าของเพลงกวนๆ “อย่าขี้โม้” และ ลีลาการแสดงสดสุดเร้าใจ จนเป็นที่พูดถึงในกลุ่มนักฟังเพลงที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ ด้วยความสามารถของ จุ๋ย จุ๋ยส์ นี่เองที่เตะตาผู้บริหารของของค่าย Sony Music จึงถูกทาบทามให้มาร่วมงานในฐานะศิลปินรายล่าสุดของทางค่าย พร้อมผลงานชิ้นใหม่อันได้แก่ EP ชุดที่ 3 ซึ่ง ในครั้งนี้จะเป็นการทำงานที่จุ๋ย จุ๋ยส์ได้สั่งสมประการณ์มากขึ้น แนวเพลงก็ยังคงความสนุกสนาน วาไรตี้ มีดนตรีที่เข้มข้น ชัดเจนขึ้นและบ่งบอกความเป็นจุ๋ย จุ๋ยส์ เหมือนเดิม ด้วยการลงมือแต่งเพลงใหม่ทุกเพลงในอัลบั้มนี้ รวมทั้งโปรดิวซ์เอง และเล่นดนตรีทุกชิ้นในอัลบั้มเองทั้งหมด เหมือนปฐมบทของการทำงานของ จุ๋ย จุ๋ยส์ กับค่าย Sony Music อย่างเต็มตัวอีกด้วย


“กางเกงลิงพเนจร” เพลงอะคูสติกเรกเก้จังหวะสนุก ซุกซ่อนรอยยิ้มไว้ในความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง คนมาจากลิง ลิงมาจากป่า ใครทิ้งกางเกงลิงเท่ากับว่าเพิ่มขยะให้โลก คลายความเศร้าโศกให้โลกได้โดยการไม่ทิ้งกางเกงลิงลงในทะเลความพิเศษของเพลง นี้ เป็นเพลงที่ “กุดจี่” ร้องคู่กับ “เค พองพอง” ได้อย่างขบขัน

Sony Music

ศิลปิน :

1. จุ๋ย จุ๋ยส์ - อีกไม่นาน

2. GooD-G - กางเกงลิงพเนจร

Link Download

http://203.146.21.130/RadioService/TJuly09W3.zip

Jui Juis MV.Link Download (No.2)

http://203.146.21.130/video/MV2_JUIJUIS.zip

*ทั้ง 2 ลิ้งค์ไม่มี password นะครับ

วิธีการดาวน์โหลด * เข้าไปตามลิ้งค์ แล้วโหลดโดยการเซฟไฟล์ซิปมาก่อน เสร็จแล้วจะเห็นเพลงอยู่ในโฟลเดอร์ ดลิกที่เพลงจะถูกถามให้ใส่พาสเวิร์ด ก๊อปพาสเวิร์ดที่ส่งมาพร้อมกับไฟล์ใส่ในช่อง กดโอเคเรียบร้อยก็จะสามารถเซฟไฟล์เพลงออกมาได้ครับ

27 กรกฎาคม 2552

จัดระเบียบวิทยุชุมชนเพื่อใคร

จัดระเบียบวิทยุชุมชนเพื่อใคร


กลายเป็น “ของคู่กัน” จนไม่สามารถแยกจากกันได้หากสังเกตการชุมนุมทาง การเมืองแต่ละครั้งจะพบว่า เครื่องมือสื่อสาร “ไฮเทค” ได้เข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้งไป อย่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เครื่องมือสนับสนุนคือ โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัวหรือที่เรียกติด ปากว่า “แพคลิ้งก์” รวมถึงการใช้โทรสาร “แฟกซ์” ติดต่อสื่อสารกัน จนเป็นที่กล่าวขานเรียกกันว่า “ม็อบมือถือ” ต่อมาในการชุมนุมของกลุ่มพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ก็พัฒนามาใช้เครื่องมือสื่อสารประเภท “ดาวเทียม” ทั้งโทรทัศน์และการโฟนอินข้ามประเทศ รวมถึง “วิทยุชุมชน” ซึ่งต้องยอมรับว่า เครื่องมือไฮเทคนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณอนันต์ แต่หากนำไปใช้ในทางไม่ถูกไม่ต้องก็ย่อมเกิดโทษมหันต์

น่าจับตาท่าที “ออกอาการ” ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณ ให้จัดการกับฝ่ายที่ลอบชกใต้เข็มขัดรัฐบาลของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนา คมแห่งชาติ (กทช.) เร่งรัด “จัดระเบียบ” ผู้ประกอบการวิทยุชุมชน ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศกว่า 4,000 คลื่น ให้เข้ามาอยู่ในหลักเกณฑ์และกฎระเบียบของ กทช. ที่ใช้อำนาจตามกฎหมายประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ในการควบคุมเทคนิคต่าง ๆ มิให้คลื่นวิทยุไปรบกวนคลื่นคนอื่น รวมถึงการควบคุมเนื้อหาต้องไม่ผิดศีลธรรม ทำลายชาติ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ล้มล้างสถาบันและการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ล่าสุดบอร์ด กทช. ได้ลงมติให้ประธาน กทช. ลงนาม ในประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุม ชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) และร่างมาตรฐานทางเทคนิคกิจการบริการชุมชน (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ฉบับชั่วคราวเป็นที่เรียบร้อย คาดว่า ภายใน 1-2 วันนี้ จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ จากนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิทยุชุมชนมาลงทะเบียนภายใน 30 วัน เพื่อทดลองออกอากาศและทำเรื่องขอรับใบอนุญาตภายใน 300 วัน หากผ่านความเห็นชอบก็จะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ชั่วคราว 1 ปี แต่ถ้าสถานี ใดประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ก็ต้องไปขออนุญาตกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

เป้าประสงค์ของประกาศนี้มุ่งหวังให้วิทยุชุมชนไม่ ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะนำมาใช้ปลุกระดมหรือใช้ประโยชน์ทางการ เมืองในทางที่ไม่ถูกต้อง หากผู้ใดละเมิดจะมีความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หวังว่า งานนี้คงมิใช่การจับปูใส่กระด้ง ยืมดาบฆ่าศัตรูการเมือง.

ที่มาเดลินิวส์ 23กรกฎาคม 2552
http://www.isnhotnews.com/interview/2009/07/21792

“ใบอนุญาตวิทยุชุมชน” คุ้มครองสิทธิประชาชนจริงหรือ?

“ใบอนุญาตวิทยุชุมชน” คุ้มครองสิทธิประชาชนจริงหรือ?

http://innold.blogspot.com/2009/07/blog-post_14.html

เมื่อ 12 ก.ค.52 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ร่วมกับสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ จัดการเสวนา “ใบอนุญาตวิทยุชุมชน คุ้มครองสิทธิประชาชน จริงหรือ?” ณ ห้องประชุมสุจิตรา อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กรุงเทพฯ โดยมีผู้ประกอบการวิทยุชุมชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกว่า 40 คน

สิทธิการสื่อสารเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เหมือนการศึกษา การรักษาพยาบาล

รศ. ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธาน คปส. กล่าวถึงสิทธิการสื่อสารของภาคประชาชนว่า เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ถึง 2550 จนมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่มีกฎหมายการประกอบกิจการ และคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะวิทยุชุมชนและกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายมากขึ้น แม้วันนี้เรื่องสิทธิการสื่อสารมีมากขึ้น แต่ก็ยังถือเป็นสิทธิขั้นต่ำ อีกทั้งวิทยุชุมชนการจะสื่อสาร หรือแสดงออกทางความคิดได้จริงก็ต่อเมื่อมีคนฟัง ซึ่งในส่วนนี้ส่งผลถึงระยะเวลาการออกอากาศตามความเหมาะสม ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิจึงไม่ได้คุ้มครองเฉพาะสิทธิคนที่เข้ามาดำเนินการสถานีใน ฐานะผู้แทนชุมชน แต่โดยหลักต้องคุ้มครองสิทธิชุมชน พลเมืองในฐานะเจ้าของสิทธิและผู้ฟัง โดยต้องเชิญชวนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ นี่เป็นสิทธิพื้นฐานของพลเมือง

อีกประการหนึ่งคือ การเป็นทางเลือกการสื่อสารของชุมชน ซึ่งในอนาคตอาจมีวิทยุธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็ก วิทยุของสถาบันการศึกษา นี่คือทางเลือก คือโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายมากขึ้นของประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน เป็นอีกมุมหนึ่งที่อยากให้คณะทำงาน จนถึงผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนคำนึงถึง

รศ. ดร.อุบลรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในอดีตมีคำถามว่าชุมชนเป็นใคร ทำไมถึงมีสิทธิมาใช้คลื่นความถี่ วันนี้เห็นตัวตนชัดเจน และอยากให้มองว่าสิทธิการสื่อสารเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เหมือนดังเช่นการศึกษา การรักษาพยาบาล ในวันนี้ ประชาชนยังต้องสู้เพื่อให้ได้ใช้สิทธิที่จะสื่อสาร ซึ่งต้องทำงานเข้มข้นเพื่อให้เกิดการยอมรับ ในสิทธิซึ่งรัฐจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ และในทางตรงกันข้าม รัฐมีหน้าที่ต้องสนับสนุนให้เกิดและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้ สิทธิ

สิทธิการสื่อสารเป็นสิทธิตลอดชีวิตเหมือนสิทธิการศึกษาและการ รักษาพยาบาล และเป็นสิทธิที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งที่ผ่านมา ประชาชนรู้จักแต่สื่อของรัฐมากว่า 70 ปี และในฐานะผู้ฟังเพียงอย่างเดียว จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่รับผิดชอบในอนาคตต้องทำให้ที่สร้างความเข้าใจ สร้างรูปแบบที่หลากหลาย สร้างช่องทางเข้าถึง และสร้างบริการเฉพาะที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม ในขณะเดียวกัน การสื่อสารเป็นกิจการบริการสาธารณะ ซึ่งถึงแม้จะเป็นผู้ประกอบการภาคเอกชนก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เหมือนกับเรื่องการศึกษา ที่โรงเรียนเอกชนก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ต่างจากโรงเรียนของรัฐ

“ความ หลากหลาย ความเชื่อ ความชอบ และความแตกต่างนั้นคือประชาธิปไตยนี่เอง” รศ.ดร.อุบลรัตน์ กล่าวถึงสิทธิทางการสื่อสารอันเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย

ใน ส่วนการกำกับดูแล วิทยุชุมชน รศ.ดร.อุบลรัตน์ กล่าวว่า ไม่อยากให้เป็นเรื่องของนิติรัฐที่ขาดเจตนารมณ์ เน้นเรื่องการควบคุม เข้ามากำหนดว่าพูดเรื่องอะไรได้บ้าง เพราะลึกๆ รัฐบาลหวาดระแวง ไม่ไว้ใจประชาชน แต่ต้องการวัฒนธรรมการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งต้องอดทน และหวังว่าการสื่อสารจะมาแทนความรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการใช้ความรุนแรงเข้ามาทางคลื่นวิทยุมากจนเกินเลย มีการใช้การสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องสิทธิการสื่อสาร แต่ใช้ไปในทางที่เกิดโทษ สร้างความเสียหายและลดทอนความเชื่อมั่นในสถาบันสื่อ

เสนอจัดโครงการปั้นนักศึกษาช่าง เป็นช่างเทคนิคประจำวิทยุชุมชน

รศ. ดร.อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาถึงข้อเสนอว่า ช่วงนี้เป็นช่วงการจัดสรรใหม่ เทคนิคเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา และเป็นช่องทางที่คนบางกลุ่มหาประโยชน์ นอกจากคุณภาพรายการ คุณภาพเทคนิคเป็นที่เรื่องที่ต้องทำให้ได้รับการยอมรับ ต้องไม่เลื่อนคลื่นไปมา หรือฟุ้งกันไปฟุ้งกันมา ถ้าวิทยุชุมชนเป็นคลื่นหลักแล้ว ต้องป้องกันไม่ให้เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน กล่าวคือวิทยุชุมชนต้องมีที่ทางเป็นของตัวเอง ดังนั้นขอฝากให้คณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน นำพื้นที่รกร้างว่างเปล่า เอาขึ้นมาจัดทำเป็นผังความถี่ให้เห็นร่วมกัน รวมถึงการจัดคลื่นความถี่ที่ชัดเจนให้กับบริการสาธารณะที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น วิทยุรัฐสภา คลื่น 87.5 ซึ่งเป็นคลื่นของตัวแทนประชาชนไทยทั้งปวง แต่กลับตกคลื่น มีหลายพื้นที่ไม่สามารถรับฟังได้

โดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ มีข้อเสนอ 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 ในเรื่องเทคนิค ควรต้องมีการตอบคำถามที่ว่าคลื่นความถี่ที่จะจัดสรรอยู่ตรงไหนกันแน่ ในแต่ละภาค แต่ละจังหวัด จะอยู่ในช่วงหัว-ท้ายของคลื่นความถี่ หรืออยู่ได้ทุกที่ และจะมีจำนวนเท่าไหร่ ส่วนประเด็นที่ 2 กระบวนการแจ้งความประสงค์จะทดลองออกอากาศล่วงหน้า มีปัญหาเรื่องสถานีกระดาษหรือสถานีจริงที่มีการออกอากาศจริงอย่างเป็นเรื่อง เป็นราว ตรงนี้ควรต้องตรวจสอบ ให้มีความชัดเจนอยู่ในระดับหนึ่ง

ประเด็น ที่ 3 จะทำอย่างไรให้เป็นการคุ้มครองสิทธิ ไม่ใช่การควบคุม และขอทีมสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ทำให้การออกอากาศของประชาชนต่อเนื่อง แม่นยำ ถูกต้อง ไม่รบกวนคนอื่นและไม่รบกวนซึ่งกันและกัน เช่น จัดหาอาสาสมัครเป็นช่างประจำสำหรับวิทยุชุมชนสัก 2 แห่ง เช่น จากนักศึกษาเทคนิค ทำเป็นโครงการของบประมาณจาก กทช. มาช่วยจำนวนหนึ่ง อาสาสมัครตรงนี้ก็จะมาเป็นทางให้วิทยุชุมชนในอนาคต ทำให้วิทยุชุมชนออกอากาศได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่เสียงไม่หายเมื่อฝนตก ฟ้าผ่าก็กลับมาดำเนินการได้ในเวลาไม่นานจนเกินไป

รศ.ดร.อุบลรัตน์ กล่าวด้วยว่า โดยรวมๆ ปัญหาทางเทคนิคเป็นปัญหาคับอกคับใจที่ยังแก้ไม่ได้ ซึ่งเรื่องเทคนิคเป็นเรื่องที่จะมาสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งต้องแสวงหาเพิ่มเติม ต้องการสนับสนุน หนุนช่วยให้ดำเนินการได้จริง ทั้งเรื่องการบำรุงรักษา จนถึงเรื่องแผนความถี่ ตลอดจนแนวทางการปรับเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นแนวทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ประธานคณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน แจงการทำงานที่ผ่านมา

พ. อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน ในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของคณะ อนุกรรมการฯ ว่า มาจาก พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งออกมาเพื่อแก้ปัญหาที่หมักหมม รวมถึงปัญหาของวิทยุชุมชนที่ระยะหลังเสมือนไร้ซึ่งทิศทาง เนื่องจากคลื่นความถี่กลายเป็นเหมือนที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่คนพยายามเข้า มาจับจอง แสวงหาผลประโยชน์ ความสับสนที่เกิดขึ้นนำมาสู่การกำหนดให้มีการดูแลใน 2 เรื่อง คือวิทยุชุมชน และกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่โดยให้มีคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ทำหน้าที่ร่วมกับกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

ภาย หลังกฎหมายประกาศใช้ 6-7 เดือนจึงเกิดคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 22 คน แบ่งเป็นคณะทำงาน 4 ด้าน โดยด้านที่สำคัญจะมี 2 ชุด คือ ชุดวิทยุชุมชนซึ่งผมทำหน้าที่เป็นประธาน และชุดกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ทั้งนี้ ส่วนตัวเข้ามาเป็นหนึ่งคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร

พ.อ.ดร.นที กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชนว่า สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ การทำความเข้าใจในเรื่องวิทยุชุมชน ทั้งนี้ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ แบ่งกิจการกระจายเสียงเป็น 3 ประเภทหลัก คือ กิจการบริการสาธารณะ กิจการบริการธุรกิจเอกชน กิจการบริการชุมชน แต่ปัญหาจากการสนับสนุนในช่วงที่ผ่านมาไม่มีกรอบที่ชัดเจน อักทั้งมีการอนุญาตให้โฆษณาได้ จึงเกิดวิทยุชุมชนเป็นจำนวนมาก และหลากหลายประเภทสับสนปนเปกันในปัจจุบัน มีวิทยุบริการชุมชนกึ่งสาธารณะ วิทยุธุรกิจที่อ้างเป็นชุมชน ชุมชนที่ทำธุรกิจ ฯลฯ

“ด้วยความที่ระยะ เวลามันยาวนาน และทุกคนต่างดำเนินการโดยที่ไม่มีกรอบที่ชัดเจน ทำให้คนเริ่มมีความรู้สึกว่าถ้าตนเองมีสถานีวิทยุสักสถานีหนึ่ง แล้วมีโอกาสแสวงหารายได้ เป็นผู้ประกอบการ SME หลังจากนั้นก็เกิดเป็นจำนวนเยอะ พอเกิดจำนวนเยอะแล้ว ทุกคนก็รู้สึกว่าที่ดินที่ตนเองเริ่มเพาะปลูกกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองที่ ใครมาแย่งไม่ได้” พ.อ.ดร.นทีกล่าวอธิบายถึงกระบวนการของการเกิดวิทยุชุมชนที่ผ่านมา

อย่าง ไรก็การทำงานของคณะทำงานด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชน คำนึงถึงสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน เริ่มต้นด้วยการรับรองสิทธิของทุกคน ให้ทุกคนดำเนินการต่อไปได้ ภายใต้กรอบการกำกับดูแลเดียวกัน อันที่จริงเท่าที่รับทราบมา คนทำวิทยุชุมชนทุกคนต่างต้องการที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ที่ผ่านมานั้นไม่มีอะไรที่จะทำให้เขาถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะไม่มีการปิด แต่จะเดินหน้าออกใบอนุญาตและจะทำให้คนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าสู่การกำกับ ดูแล นอกจากนี้ยังคำนึงถึงการมีส่วนของภาคประชาชน

พ.อ.ดร.นทีกล่าว ต่อมาว่า หลังจากที่มีการรับฟังความเห็นเรื่องกรอบกำกับดูแลหลายเวที จนมาถึงเวทีประชาพิจารณ์ร่างหลักเกณฑ์วิทยุชุมชนที่โรงแรมรามาการ์เดน มีข้อเสนอให้ขึ้นทะเบียนสถานีวิทยุชุมชนที่ดำเนินการอยู่ทั้งหมด โดยให้แยกเป็นการขอรับใบอนุญาตชั่วคราว และการแจ้งความประสงค์จะทดลองออกอากาศ 300 วัน เพื่อให้ทุกคนมาแสดงตัวตนทำฐานข้อมูล

ในส่วนของการแจ้งความประสงค์จะ ทดลองออกอากาศ คณะทำงานหวั่นเกรงว่าจะเกิดความสับสนวุ่นวายเพราะสถานีที่มีความประสงค์จะ ทดลองออกอากาศมีจำนวนมาก จึงให้มีการแจ้งความประสงค์ล่วงหน้า 4 ภาค รามแล้วขณะนี้มีผู้มาลงทะเบียนจำนวน 4,050 สถานี คิดเป็น 90% ของจำนวนที่คาดว่าจะมีประมาณ 4,500 สถานี และจะพยายามรณรงค์เพิ่มอีกหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในช่วง 30 วัน โดยการประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง รวมถึงวิทยุชุมชนด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของ กทช.อีกครั้งในวันที่ 15 ก.ค.52 และน่าจะประกาศใช้ในเดือน ก.ค.นี้

สำหรับ การให้ใบอนุญาตชั่วคราววิทยุชุมชนจะพิจารณาให้ใบอนุญาตเฉพาะวิทยุชุมชนที่ ดำเนินการอย่างเข้มข้นแท้จริง โดยสถานีที่ได้รับใบอนุญาตทางคณะทำงานได้เตรียมจัดงบสนับสนุน เพราะที่ผ่านมา สังคมละเลยคนที่ทำงานเพื่อสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับองค์กรอิสระที่จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป

ชี้มีใบอนุญาตเพื่อการคุ้มครองสิทธิประชาชน

พ. อ.ดร.นทีกล่าวด้วยว่า ในเรื่องการกำหนดให้มีใบอนุญาตนั้น ก็เพื่อให้มีคนที่จะมาดูแลคุ้มครองสิทธิของประชาชน โดยส่วนส่วนนี้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงจำแนกได้เป็น 3 สถานะ คือ ก.กลุ่มที่ได้รับใบอนุญาต ข.กลุ่มที่ได้รับการคุ้มครองในการทดลองออกอากาศ 300 วัน และ ค.กลุ่มที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งสิทธิของแต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกัน แต่ก็เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้ในเรื่องเทคนิค

อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือเรื่องการอบรมเรื่องการบริหารจัดการ เนื้อหารายการ จรรยาบรรณ โดยไม่ได้เน้นการพูดให้ชัดอย่างที่ผ่านมา

ใน ส่วนเทคนิค วันนี้ไม่มีการกำหนดกำลังส่งและความสูงเสาแล้ว และคณะทำงานไม่ได้กำหนดให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องของสถานีที่จะดำเนินการ โดยไม่ได้ยึดมาตรฐานไอทียู เพราะใช้กับประเทศไทยไม่ได้ แต่จะมีกระบวนการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการรบกวนคลื่นความถี่ข่ายการสื่อสาร อื่น อีกทั้งไม่ได้เน้นการบังคับตามกฎหมาย แต่เน้นการเจรจา เช่น กวนครั้งแรก ตักเตือนเพื่อให้แก้ไข กวนครั้งที่สองระงับการออกอากาศ 7 วัน กวนครั้งที่ 3 ระงับการออกอากาศ 3 เดือน รวมถึงเน้นการไกล่เกลี่ย/ตกลงกันเองในกรณีการรบกวนกันเองในกลุ่มวิทยุชุมชน

พ. อ.ดร.นทีกล่าวต่อมาว่า กระบวนการหลังจากนี้จะเป็นเรื่องการพิจารณาให้ใบอนุญาต และเรื่องของการกำกับดูแล ซึ่งทางคณะทำงานกำลังคิดอยู่คือ การส่งเสริมให้เครือข่ายวิทยุชุมชนรวมตัวกันเองเป็นองค์กรเพื่อกำกับดูแลกัน เอง ในลักษณะเดียวกันกับสมาคมวิชาชีพ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ทั้งนี้ การใช้คลื่นความถี่วิทยุชุมชน โดยหลักการต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ มีกรอบกติกา 2 ข้อ คือ ไม่หมิ่น ไม่สร้างความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี และต้องบันทึกรายการ

กระบวนการที่ผ่านมาเป็นกระบวนการกรองหยาบ เพื่อนำไปสู่การกรองละเอียดในขั้นต่อไป อันได้แก่การตรวจสอบเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น สถานีกระดาษจะเข้าข่ายเอกสารเท็จ ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย นอกจาก
นี้ การประกาศในราชกิจจานุเบกษา น่าจะภายใน 20-25 ก.ค.นี้

สหพันธ์วิทยุชุมชนฯ ตั้งคำถาม หลักเกณฑ์ที่กำลังจะเกิดมีเพื่อคุ้มครองใคร

ด้าน นายวีระพล เจริญธรรม ผู้ประสานงานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติกล่าวว่า สถานการณ์การเปิดให้แจ้งความประสงค์ทดลองออกอากาศ นำไปสู่ปัญหาว่ามีคนไปขึ้นทะเบียน และบางคนไปขอมากกว่า 1 สถานี บางคนถือโอกาสไปจองคลื่นโดยยังไม่มีการการดำเนินการจริง นำมาสู่คำถามว่า หลักเกณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีขึ้นเพื่อคุ้มครองใครกันแน่ ระหว่างวิทยุชุมชนที่ดำเนินการตามหลักการและผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนในรูปแบบ อื่นๆ รวมทั้งคำถามถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากวนคลื่นความถี่วิทยุชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาถูกรบกวนความถี่จากวิทยุธุรกิจ

สิ่งที่วันนี้เครือข่าย ภาคประชาชนกำลังทำคือ การเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนโดยเฉพาะด้านเทคนิค เพื่อให้ดำเนินการได้โดยไม่รบกวนข่ายการสื่อสารอื่น เตรียมความพร้อมชุมชนในเรื่องการยื่นขออนุญาต โดยยื่นขอพร้อมกันทั้งหมด ตลอดจนเตรียมการแนวทางปฏิบัติวิทยุชุมชน และการกำกับดูแลการดำเนินการวิทยุชุมชนที่มีตัวแทนของเครือข่ายวิทยุชุมชน เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

ส่วน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่รัฐสภา ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ จะมีการพิจารณานำเรื่องสัดส่วน 20% ของวิทยุชุมชนเข้าสู่แผนแม่บท ซึ่งขอให้ช่วยกันติดตามและอย่าเพิ่งนอนใจในประเด็นนี้
-----------
ที่มา : เวปไซต์ประชาไทย

07 กรกฎาคม 2552

สะหวันเวกัสแจกโชคใหญ่กว่า 10 ล้านบาท

สะหวันเวกัสแจกโชคใหญ่กว่า 10 ล้านบาท
สำหรับสมาชิกสะหวัน เพลย์เยอร์ คลับ
แจกทุกวัน แจกทุกสัปดาห์ แจกทุกเดือน
รับทุกวัน ตังแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป
จับสลากเวลา 19.00 นาฬิกาทุกวัน วันละ 50,000 บาท
รางวัลที่ 1 / 35,000 บาท
รางวัลที่ 2 / 10,000 บาท
รางวัลที่ 3 / 5,000 บาท
รับทุกสัปดาห์ รถมอเตอร์ไซด์สุดเท่ห์ ฮอนด้าเวฟ 100 จับรางวัลในวันจันทร์ทุกสัปดาห์
พิเศษสุดลุ้นรับรางวัลใหญ่ รถกระบะโตโยต้า 2 ประตู จับรางวัลใหญ่วันที่ 7 กันยายน 2552 นี้
ที่ โรงแรมสะหวันเวกัสแหล่งบันเทิงครบวงจร

มีรถรับส่งฟรีจากสะพานมุกดาหาร
ติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการและต้อนรับลูกค้าเวลคัมเซ็นเตอร์มุกดาหาร 086-458-7467

โรงแรมสะหวันเวกัส

โรงแรมสะหวันเวกัส แหล่งบันเทิงครบวงจร ตั้งอยู่เมืองไกสอน-พรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว เปิดออฟฟิศบริการและต้อนรับลูกค้า เวลคัมเซ็นเตอร์ 4 สาขา คือ สาขาสะพานมุกดาหาร โทร 086-458-7467 สาขาสถานีขนส่ง บ.ข.ส มุกดาหาร พิเศษสุด ขณะนี้ทางโรงแรมได้ทำการเดินรถบริการลูกค้า ฟรี 2 เส้นทาง คือ จากสาขาห้างบิ๊กซีขอนแก่นถึงโรงแรม และ จากห้างบิ๊กซีสกลถึงโรงแรม ในวันที่ 7,8 และ 11,12 กรกฎาคม นี้ ท่านใดที่สนใจร่วมเดินทางไปกับเรา และ อยุ่ในเส้นทางที่รถโรงแรมผ่านต้องการให้จอดรับ

โทรไปสั่งจองที่ นั่งได้ที่
สาขาบิ๊กซีขอนแก่น โทร 086-459-8305
สาขาบิ๊กซี สกล โทร 086-455-5788

สะหวันเวกัส สวรรค์บนดินที่คุณสัมผัสได้